รายละเอียดหน้าตู้คอนเทนเนอร์

รายละเอียดหน้าตู้ ชิปปิ้งนำเข้าส่งออก ตู้คอนเทนเนอร์

หน้าตู้คอนเทนเนอร์บอกอะไรเราบ้าง

ระบบรหัสของตู้คอนเนอร์นั้น ออกให้โดยองค์กรชื่อว่า The Bureau International des Containers ซึ่งใช้มาตรฐาน ISO 3646

เบอร์ตู้คอนเทนเนอร์ จะขึ้นต้นด้วยตัวหนังสือ 4 ตัว และตามด้วยตัวเลข 7 ตัว ซึ่งมีความหมายในตัวเองเช่นกัน ในรูปนี้คือ TGHU1197416

3 ตัวอักษรแรก คือ BIC Code (Owner prefix) หรือรหัสเจ้าของตู้ 

เป็นอักษรแทนชื่อบริษัทเจ้าของตู้ เช่น KMT, TCL และ HCM เป็นต้น ในรูปนี้คือ TGH

อักษรตัวสุดท้าย Equipment Identifier รหัสระบุประเภท มี 1 ตัวอักษรถัดจาก Owner prefix จากรูปภาพคือตัวอักษร U มีความหมายคือ ตู้คอนเทนเนอร์

The Serial Number เป็นรหัสตู้คอนเทนเนอร์ ที่ให้เจ้าของตู้ตัดสินใจใส่เอง มี 6 ตัวอักษร จากตัวอย่างคือ 119741

The Check Digit รหัสตรวจสอบความถูกต้องของตู้คอนเทนเนอร์ เช็คได้จากเวปไซต์ของ The Bureau International des Containers จากตัวอย่างคือ 6

ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ ตามภาพจะเป็นตู้คอนเนอร์ขนาด 20 ฟุตและเป็นตู้คอนเนอร์ใส่สินค้าทั่วไป ในรูปนี้คือ 22G1

น้ำหนักสูงสุดที่รับได้ มีตัวย่อหลายอย่างเช่น MAX. GROSS WGT., MX GR, MAX. GR. และ MAX. WT. เป็นต้นโดย MAX. WT. = TARE WT.+ NET. WT. ในรูปนี้คือ 30,480 กิโลกรัม

ดังนั้นก่อนนำสินค้าใส่ตู้ต้องดูน้ำหนักสินค้า+กับน้ำหนักตู้แล้วไม่เกินน้ำหนักสูงสุดด้วยน้ำหนักตู้คอนเนอร์เปล่า ที่ยังไม่ได้ใส่สินค้า หรือ TARE WT.ในรูปนี้คือ 2,200 กิโลกรัม

น้ำหนักสินค้าที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถรับได้ มีตัวย่อหลายอย่างเช่น PAYLOAD, N.W., NET WEIGHT, และ MAX CARGO WGT เป็นต้นในรูปนี้คือ 28,280 กิโลกรัม

ปริมาตรตู้สินค้า CUBE หรือ CU CAP.ปริมาตรสูงสุดที่จะใส่สินค้าได้ในรูปนี้คือ 33.2 CU.M.หรือ 33.2 ลูกบาศก์เมตร

โดยทั่วไปจะไม่มีการโหลดสินค้าเกินปริมาตรที่ตู้บรรจุได้เนื่องจากถ้าโหลดไม่พอยังไงก็ใส่เพิ่มไม่ได้ ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาจะเกิดจากการที่โหลดสินค้าเกินMAX. GROSS ของตู้มากกว่า โดยเฉพาะสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เพราะเมื่อโหลดสินค้าแล้วเข้าใจว่ายังมีพื้นที่ให้ใส่สินค้าได้อีกแต่เมื่อใส่เพิ่มถึงจุดหนึ่งน้ำหนักจะเกินจุดสูงสุดที่รับได้โดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างสินค้าเหล่านี้ เช่น โลหะต่างๆ กระเบื้อง ไม้ เป็นต้น

การที่ MAX. GROSS เกินจากหน้าตู้ทำให้ท่าเรือที่รับตู้สินค้าสามารถปฏิเสธการรับตู้สินค้าได้ หากแก้ไขไม่ได้เกิดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายตามหลังมากมาย หากไม่แน่ใจให้สอบถามจากชิปปิ้งที่ท่านใช้บริการนำเข้า ส่งออก ควรระวังป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขทีหลัง